วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ดูแลรักษาเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต ให้อยู่กันไปนานๆ

ดูแลรักษาเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต ให้อยู่กันไปนานๆ


1. ดูแลหัวพิมพ์ของเครื่องพรินเตอร์ให้สะอาดอยู่เสมอ
การ เอาใจใส่เรื่องการรักษาความสะอาดหัวพิมพ์ของพรินเตอร์เป็นวิธีหนึ่งที่จะ ช่วยไม่ให้เกิดการอุดตันของหัวพิมพ์พรินเตอร์ได้ เป็นประโยชน์กับเครื่องพรินเตอร์ของ Hewlett Packard และ Lexmark ที่มีนิสัยไม่ยอมทำความสะอาดหัวพิมพ์ตามวงรอบการทำงานปกติ บ่อยครั้งที่มีน้ำหมึกบางส่วนตกค้างแล้วไหลไปจับกันเป็นคราบที่บริเวณส่วน ปลายของหัวพิมพ์แล้วทำให้ตลับหมึก (Ink Cartridge ) ออกอาการแปลกๆ หรือสีเพี้ยน รูปภาพขนาด (สีสัน) วิธีแก้ไขอย่างง่ายก็คือนำตลับหมึกออกมาจากพรินเตอร์แล้วค่อยๆ เช็ดทำความสะอาดบริเวณหลายหัวพิมพ์ด้วย Cotton buds หรือก็คือที่แคะหูที่เป็นสำลีนุ่มๆ นั่นเอง ห้ามใช้กระดาษทิชชู่และแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด จากนั้นนำตลับหมึกใส่เข้าไปในช่องใส่ของพรินเตอร์แล้วดึงออกมาซ้ำๆ ประมาณ 3-4 ครั้งโดยต้องใช้ความระมัดระวังในการใส่ตลับหมึกเข้าและดึงออกด้วย เพื่อไม่ให้ช่องใส่ตลับหมึกและตัวตลับหมึกเองหักเสียหาย การรักษาความสะอาดของหัวพิมพ์หอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้งานพิมพ์ที่ได้มี ปริมาณมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว

2. ซื้อพรินเตอร์มาใช้ ก็ใช้บ้าง
พริน เตอร์ ทุกตัวสามารถป้องกันปัญหางานพิมพ์ไม่ได้ดั่งใจด้วยการหมั่นใช้งานมันบ่อยๆ หรืออย่างน้อยใช้พรินเตอร์พิมพ์งานบ้าง เสียงบ่นบ่อยๆ เรื่องงานพิมพ์มีคุณภาพต่ำโดยเฉพาะปัญหาที่พิมพ์ออกมาแล้วเป็นลายๆ ขาดๆ หายๆ หรือที่แย่ที่สุดคือ ออกมาเป็นกระดาษเปล่านั้น เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาชวนหงุดหงิดดังกล่าวด้วยการหมั่นใช้งานพริน เตอร์บ่อยๆ
ปัญหางานพิมพ์เสียเพราะเครื่องพรินเตอร์แบบนี้มักมีสาเหตุมา จากหมึกพิมพ์แห้งเป็นคราบติดอยู่ภายในหัวพิมพ์หรือภายในท่อฉีดน้ำหมึก (Nozzle) แล้วจึงกลายเป็นเหมือนตัวสกัดกั้นไม่ให้น้ำหมึกไปสัมผัสกับกระดาษ การให้พรินเตอร์พิมพ์งานที่ใช้หมึกสีและหมึกดำทุกๆ สัปดาห์เป็นอย่างน้อยจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
คำแนะนำ คือ ควรเปิดเครื่องพรินเตอร์สัก 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้หัวพรินเตอร์ตรวจสอบความพร้อมของหมึกพรินเตอร์ หัวพรินเตอร์จะฉีดหมึกใหม่เข้าไปไล่หมึกเก่า เพื่อป้องกันการอุดตันของหมึก และควรทดสอบการพิมพ์ อย่างน้อยเดือน 1-2 ครั้ง เพื่อให้งานพิมพ์ออกมาดีอยู่เสมอ

3. การเก็บรักษาพรินเตอร์เมื่อไม่ใช้งาน
เมื่อ ไม่มีการใช้เครื่องพรินเตอร์ของ Epson เป็นเวลานานๆ เครื่องพรินเตอร์ Epson จำเป็นต้องถูกเก็บไว้ในสภาพที่มีตลับหมึกอยู่ในเครื่องด้วย ไม่ว่าตลับหมึกจะมีหรือไม่มีหมึกเหลือเลยก็ตาม เพราะการนำตลับหมึกออกจะเป็นการเปิดให้อากาศเข้ามา ทำให้ท่อทางเดินน้ำหมึกแห้ง หากจำเป็นที่จะต้องมีการเก็บเครื่องพรินเตอร์ไว้โดยไม่ใช้งานเป็นเวลานาน ข้อแนะนำที่ดีที่สุดคือให้เช็ดหัวพิมพ์ด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่ใช้สำหรับทำ ความสะอาดหัวพิมพ์พรินเตอร์อิงก์เจ็ตโดยเฉพาะ แล้วจึงใส่ตลับหมึกกลับเข้าที่ รวมทั้งการทำให้แผ่นรองน้ำหมึกขึ้นอยู่เสมอ โดยขั้นแรกเปิดสวิตซ์เครื่องพรินเตอร์ แล้วรอจนกว่าหัวพิมพ์จะหยุดขยับไปอยู่ที่ตำแหน่งปกติ (หยุดนิ่งอยู่ที่ด้านขวาสุด) จากนั้นก็ปิดสวิตซ์ตามปกติซึ่งนี่คือวิธีการที่จะทำให้กลไกสำหรับครอบปิดหัว พิมพ์และแผ่นรองน้ำหมึกอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับด้านใต้ของหัวพิมพ์พอดี
ส่วน เครื่องพรินเตอร์ของ HP และ Lexmark นั้น หัวพิมพ์จะอยู่รวมกับตลับหมึกพิมพ์เลย ซึ่งหมายความว่าทุกครั้งที่เราเปลี่ยนตลับหมึก ก็เท่ากับเปลี่ยนหัวพิมพ์เลยนั่นเอง ดังนั้นการเก็บรักษาเมื่อจะไม่ใช้งานเป็นเวลานานๆ จึงต้องทำโดยการนำตลับหมึกทั้งหมดออกมาเก็บใส่ไว้ในถุงพลาสติก ที่มีการปิดปากถุงเพื่อป้องกันอากาศเข้าเป็นอย่างดี หรือจะใช้ถุงที่เรียกว่าถุง Zip-lock ก็ได้ จากนั้นจึงปิดปากถุงให้สนิทเพื่อไม่ให้น้ำหมึกแห้ง ส่วนเครื่องพรินเตอร์ของ Canon นั้นรอจนหัวพิมพ์อยู่ในตำแหน่งเก็บหัวพิมพ์เหมือนกับ Epson จากนั้นจึงปิดสวิตซ์ตามปกติ จำไว้ว่าเครื่องพรินเตอร์ที่เก็บไว้จะต้องมีการคลุมปิดกันฝุ่นให้ดีเพื่อ ป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้เข้ามาในกลไกของพรินเตอร์ได้

4. รักษาสุขภาพของพรินเตอร์ให้ดี
การ บำรุงรักษาเครื่องพรินเตอร์อย่างสม่ำเสมอจะเป็นการลดปัญหาการทำงานที่ผิด ปกติของเครื่องพรินเตอร์ ซึ่งบางอย่างเราสามารถทำได้ง่ายๆ เช่น การหมั่นกำจัดเศษกระดาษและเศษฝุ่นผงทั้งหลาย อย่างที่เราคงนึกภาพออกว่ากระดาษแต่ละแผ่นที่เราป้อนเข้าสู่เครื่อง พรินเตอร์เป็นปริมาณมากมายจะทิ้งเศษสิ่งไม่พึงประสงค์ไว้ในพรินเตอร์มากขนาด ไหน การทำความสะอาดด้วยการเป่าเศษผงและฝุ่นออกด้วยเครื่องเป่าลมธรรมดาๆ (ย้ำว่าเครื่องเป่าลม..หาใช่เครื่องเป่าผมแต่อย่างใด) จะช่วยให้เครื่องพรินเตอร์ของเราสามารถป้อนกระดาษได้อย่างไม่ติดขัดเพราะ Roller ของมันสะอาดปราศจากสิ่งสกปรกนั่นเอง
การจับตลับหมึกในขณะเปลี่ยน ตลับหมึกอย่างระมัดระวังก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรต้องคำนึงถึง แม้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ตลับหมึกพิมพ์ทั้งหลายนั้นค่อนข้างมีความละเอียดอ่อนพอสมควร อย่างเช่นตลับหมึกของ HP และ Lexmark ที่มีหัวพิมพ์ติดอยู่ หากจับไม่ระวังก็อาจสร้างความเสียหายและส่งผลต่อคุณภาพงานพิมพ์ได้ หรือตลับหมึกของ Epson ที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์เล็กๆ อยู่มุมหนึ่ง ซึ่งอาจจะเสียหายได้หากสัมผัสกับความชื้นจากเหงื่อที่มือ

5. อย่าให้หัวพิมพ์อุดตัน
หัว พิมพ์ ประกอบด้วย Nozzle ซึ่งเป็นท่อฉีดน้ำหมึกที่มีอยู่ภายในหัวพิมพ์ของพรินเตอร์ เมื่อเกิดการอุดตันจะทำให้งานพิมพ์ที่ได้เป็นลายเส้นๆ พาดหน้ากระดาษหรือหมึกสีจางกว่าปกติ พรินเตอร์แบบ Inkjet หลายรุ่นจะมีโปรแกรมสำหรับตรวจสอบการตันของท่อฉีดน้ำหมึกที่เรียกว่าโปรแกรม Nozzle Check มาให้อยู่แล้ว
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ อย่าปล่อยให้ตลับหมึกพิมพ์ที่เคยใช้งานแล้ว วางทิ้งไว้เฉยๆ นอกเครื่องพรินเตอร์ เพราะชั่วเวลานิดเดียวหมึกก็จะแห้งหมด ถ้าจำเป็นต้องนำตลับหมึกออกมาให้ทำอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วคือให้เก็บใส่ถุง พลาสติกที่ปิดผนึกป้องกันอากาศเข้าอย่างดีแล้วเท่านั้น

6. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องดูดฝุ่น ดูดฝุ่นใกล้เครื่องพิมพ์
พริน เตอร์ ควรจะอยู่ห่างๆ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์อย่างเครื่องดูดฝุ่นเข้าไว้ มีผู้ใช้งานเครื่องพรินเตอร์บางคนพยายามจะทำความสะอาดพรินเตอร์ด้วยการใช้ เครื่องดูดฝุ่นดูดเศษฝุ่นออกมา ผลก็คือ พรินเตอร์พังเพราะแผงวงจรอิเล็กรอนิกส์ในเครื่องลัดวงจร เนื่องจากไฟฟ้าสถิตย์ปริมาณมาที่จะเกิดขึ้นรอบๆ บริเวณที่เครื่องดูดฝุ่นทำงานแล้วไปรบกวนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนแผงวงจรใน เครื่องคอมพิวเตอร์ ทางที่ดีที่สุดคือ ใช้ปืนเป่าลมที่เราไม่ต้องกังวลเรื่องไฟฟ้าสถิตย์เลยแม้แต่น้อย เว้นเสียแต่ว่า เครื่องดูดฝุ่นที่ใช้จะมีท่อดูดยาวมากพอ ที่จะไม่ต้องให้มอเตอร์ไปอยู่ใกล้ๆ กับเครื่องพิมพ์

7. การทำความสะอาด Roller ที่ใช้ดึงกระดาษ
นำ กระดาษหนาๆ หรือกระดาษที่สามารถซับน้ำได้ดีแล้วฉีดผลิกภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของ แอมโมเนียให้หมาดๆ จากนั้นก็ป้อนเข้าไปในพรินเตอร์ซ้ำๆ ประมาณ 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นก็ป้อนกระดาษธรรมดาเข้าไป เพื่อซับให้แห้ง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยล้างคราบหมึกและสิ่งสกปรกที่ติอยู่บนลูกกลิ้งกระดาษได้ แล้ว

8. ควรปิด-เปิดเครื่องพิมพ์ด้วยสวิตซ์ ดีกว่าถอดปลั๊กไฟ
การ ปิด-เปิด เครื่องพิมพ์ควรทำที่สวิตซ์ของเครื่องเสมอ เพราะเครื่องพิมพ์จะเก็บและทำความสะอาดหัวหมึกหลังจากกดสวิตซ์ปิดที่ตัว เครื่อง ไม่ควรใช้ถอดปลั๊กหรือปิดสวิตซ์ปลั๊กไฟเนื่องจากจะทำให้เครื่องพิมพ์เสีย เร็วขึ้น

9. หมั่นอัพเดทไดรเวอร์และซอฟต์แวร์ของเครื่องพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ
เพราะ ซอฟต์แวร์ (รวมไปถึงไดรเวอร์) ใหม่ๆ จะถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเวอร์ชันก่อนๆ และในบางครั้งก็มีฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานอีกด้วย

10. ไม่ควรนำหมึกต่างยี่ห้อมาเติม
แน่ นอนครับถึงจะพรินต์ได้ก็จริง แต่จะทำให้ตลับหมึกอุดตันได้รวดเร็วขึ้น แถมหมึกเติมที่ไม่ได้คุณภาพ อาจทำให้หัวพิมพ์เสียหายได้อีกด้วย

11. ควรเปลี่ยนน้ำหมึก เมื่อมันเตือนว่าหมด
หลาย คนยังฝืนที่จะพิมพ์ต่อ ถึงแม้ว่าไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์ จะขึ้นเตือนว่าหมึกหมดแล้วก็ตาม อย่างเช่น ในกรณีที่หมึกสีหมด แต่ก็ยังจะฝืนพิมพ์งานขาว-ดำ ต่อ เพราะคิดว่าหมึกดำยังเหลือ ไม่ได้ใช้หมึกสี ก็ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ในความเป็นจริง ถึงแม้ว่าหมึกพิมพ์สีจะไม่ได้ใช้ แต่ความร้อนที่หัวพิมพ์ก็ยังคงมีอยู่ ยิ่งเมื่อเราฝืนพิมพ์ จะทำให้ความร้อนที่หัวพิมพ์เพิ่มมากขึ้น เพราะไม่มีน้ำหมึกมาหล่อเลี้ยง ซึ่งอาจมีผลให้เครื่องพิมพ์เสียหายได้ สำหรับเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตรุ่นใหม่ๆ จะป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ฝืนพิมพ์ต่อเมื่อหมึกสีใด สีหนึ่งหมด ด้วยการไม่รับงานพิมพ์ใดๆ ทั้งสิ้น จนกว่าจะเปลี่ยนหมึกตลับใหม่

ทิปดี ๆ จาก หนังสือ PCTODAY

http://mp-ink.mpgraphichouse.com/webboard/index.php?topic=52.0

ไม่มีความคิดเห็น:

ผู้มีส่วนร่วม