วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ทิปแก้ปัญหาเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต



ทิปแก้ปัญหาเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต


1. กระดาษติดปัญหาชวนหงุดหงิดแก้ไขได้ ถ้า งานของคุณหยุดพรินต์กลางครันหรือไม่มีการพรินต์ออกมาเลยให้สันนิษฐานได้ว่า เกิดปัญหากระดาษติดแล้วซึ่งอาจเพราะกระดาษขาด ,พับ หรือป้อนกระดาษไม่ถูกต้อง บรรยากาศที่มีความชื้นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งเช่นกัน พรินเตอร์ที่มีปัญหากระดาษติดบ่อยๆ อาจจะต้องมีการทำความสะอาดโดยผู้ชำนาญการหรือต้องเปลี่ยนอะไหล่บางชิ้น คุณภาพของกระดาษที่ไม่ได้มาตรฐานก็เป็นตัวการทำให้เกิดกระดาษติดได้ เพียงแค่จ่ายเพิ่มอีกหน่อยเพื่อซื้อกระดาษที่มีคุณภาพดีกว่าต้องมาอารมณ์ เสียกับปัญหากระดาษติดภายหลัง เครื่องพรินเตอร์อิงก์เจ็ตโดยเฉพาะรุ่น ราคาถูกๆ มักอ่อนไหวกับตำแหน่งการใส่กระดาษและน้ำหนักของกระดาษ ให้ที่กั้นในช่องใส่กระดาษอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะกับกระดาษและอย่าป้อนกระดาษ ต่างชนิดกันปนกันในช่องใส่กระดาษ เมื่อกระดาษติดให้ดึงกระดาษออกมาในทิศทางตรงกันข้ามกับทีกระดาษถูกดึงเข้าไป ในเครื่องพรินเตอร์แล้วตรวจดูว่ามีเศษกระดาษหลงเหลืออยู่หรือเปล่า ถ้าลูกกลิ้งหรือตัว Roller ที่ใช้ดึงกระดาษเอียงให้ลองพยายามค่อยๆ จัดตำแหน่งของมันใหม่อย่างระมัดระวัง

2. แก้ปัญหาพิมพ์กระดาษแกรมหนาๆ
ปัญหา กระดาษค้างหรือติด เมื่อพิมพ์กับกระดาษที่แกรมหนาๆ สามารถป้องกันได้ง่ายๆ นั่นคือ เวลาใส่กระดาษในถาดไม่ควรตั้ง Guide ให้ชิดติกกับขอบกระดาษ ควรเว้นว่างไว้ประมาณ 1 กระเบียด

3. ใช้กระดาษแข็งรอง ก็ช่วยได้
ใช้ กระดาษแข็งหรือแผ่นพลาสติกรองกระดาษ เพื่อให้เครื่องพิมพ์สามารถดูดกระดาษได้ง่ายๆขึ้น (แต่ระวังอย่าให้แผ่นรองโดนดูดไปด้วยนะครับ) อ้อ... แล้วไม่ควรใส่กระดาษเกินกว่า 5 แผ่นนะครับ (ลองดูคู่มือของเครื่องพิมพ์ประกอบด้วย ว่ารับประกันดาษหนาสุดได้กี่แกรม) เพราะแต่ละรุ่นอาจรองรับกระดาษได้ไม่เท่ากัน ทดลองใส่แล้วพิมพ์ดูดครั้งละ 1 แผ่นจนถึง 5 แผ่นแล้วดูว่ากี่แผ่นดีที่สุด

4. กรีดกระดาษก่อนพิมพ์
กรีด กระดาษก่อนใส่ในเครื่องพิมพ์เสมอ เพื่อให้อากาศสามารถเข้าไปแทรกตัวอยู่ระหว่างกระดาษได้และเพื่อให้ฝุนผงที่ เกาะอยู่หลุดออก ถ้าทำไม่เป็นให้จับปลายด้านใดด้านหนึ่งแล้วสะบัดๆ จนครบ 4 ด้าน ก็ได้ครับ จากนั้นม้วนหัวกระดาษให้งอเล็กน้อยก่อนใส่เครื่องพิมพ์ เพื่อให้ลูกกลิ้งดูดกระดาษได้ง่ายขึ้น

5. แก้ปัญหาหัวพิมพ์อุดตัน สำหรับ หมึกพิมพ์นั้นการทำความสะอาดให้ใช้ซอฟแวร์ที่มากับเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีฟีเจอร์เกี่ยวกับการดูและรักษาหมึก เช่น Cleaner แต่ถ้าหากไม่มีหรือซอฟต์แวร์ใช้ไม่ได้ผลก็ให้ลองเอาตลับหมึกแช่ไว้ในน้ำอุ่น สักครู่แล้วจึงซับด้วยผ้าแห้งที่ไม่มีขน หากไม่ได้ผลจริงให้ใช้สำลีพันไม้หรือคัตตอนบัตชุบแอลกอฮอล์เช็ตแผลหรือทิน เนอร์ (อันนี้ต้องระวังอย่าให้ถูกส่วนที่เป็นพลาสติกนะครับ) แล้วแต้มเบาๆ ที่หัวหมึก สำหรับเครื่องพรินเตอร์ของ HP และ Lexmark ที่มีปัญหาและได้ทดลองแก้ปัญหาด้วยการใช้โปรแกรม Head cleaning และ Nozzle check แล้วปรากฏว่า ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาหัวพิมพ์ตันได้ ให้ลองใช้น้ำอุ่นประมาณ 1 แก้ว ใส่ลงในภาชนะที่มีขนาดพอที่เราจะนำตลับหมึกจุ่มลงไปได้ โดยจุ่มเฉพาะส่วนที่เป็นท่อน้ำหมึกลงไปแช่ไว้ประมาณ 3- 4 นาที หรือนานกว่า จนกว่าจะเริ่มเห็นน้ำหมึกเริ่มไหลออกมาจากปลายท่อน้ำหมึกผสมกับน้ำ แต่ไม่ต้องกังวลว่าหมึกจะไหลออกจนหมด จากนั้นเมื่อแน่ใจว่าไม่มีคราบหมึกติดอยู่ใน nozzle แล้วก็ค่อยๆ ซับเบาๆ ให้แห้งด้วยผ้าสะอาด จากนั้นนำสำลีชุบแอลกอฮอล์หมาดๆ เช็ดบริเวณที่เป็นโลหะ (สีของโลหะจะเป็นสีทองแดง) ของทั้งตลับหมึกและที่ใส่ตลับหมึกตัวพรินเตอร์ จากนั้นนำตลับหมึกใส่กลับเข้าไปในพรินเตอร์เข้าที่แล้วล้างหัวพิมพ์ด้วย โปรแกรมของพรินเตอร์อีกที

6. ทำอย่างไรเมื่อเจอ “Not Enough Disk Space to Print”
ถ้า คุณได้รับข้อความ“Not Enough Disk Space to Print” แสดงว่าคุณกำลังมีปัญหากับหน่วยความจำของเครื่อง วิธีแก้คือ ให้ไปที่ Start> Search > All files and folders แล้วพิมพ์คำว่าค้นหาว่า *.tmp ในไดรฟ์ C: (รวมไปถึง subfolders ด้วย) เมื่อค้นหาเสร็จแล้วให้เลือกทั้งหมดแล้วลบทิ้งโดยไม่ต้องเหลือไว้ใน Recycle Bin (หรือกด Shift+Delก็ได้) จะทำให้เครื่องมีพื้นที่มากขึ้นและสามารถพิมพ์ได้เร็วขึ้นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

ผู้มีส่วนร่วม